ตัวอย่างกรณีการรักษาในผู้ป่วยวัยทอง|J-CLINIC การรักษาทางศาสตร์แพทย์แผนจีน
สวัสดีค่ะ แพทย์จีน ภาสินี เชิดชูเหล่า(หมอณัฏฐ์) จากเจสหคลินิก สาขาพร้อมพงษ์นะคะ วันนี้จะมาแชร์ตัวอย่างกรณีการรักษาในผู้ป่วยวัยทอง ที่ผลการรักษาค่อนข้างดีผู้ป่วยทานยาจีนควบคู่ไปกับการฝังเข็มปรับการไหลเวียนของเลือด ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ตามลำดับ จนอาการเกือบกลับมาเป็นปกติทั้งหมด
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 45 ปี เข้ารับการรักษาครั้งแรก เมษายน 2566
เข้าพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญ อาการร้อนวูบวาบและมีเหงื่อออก 3 เดือน
- ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : สามเดือนก่อนมารักษากับแพทย์แผนจีน ผู้ป่วยเริ่มมีอาการร้อนวูบวาบ มีเหงื่อออกช่วงใบหน้าและลำตัว (เหงื่อออกตอนกลางวันและตอนนอน) ไปโรงพยาบาล ตรวจเลือด พบว่าฮอร์โมนน้อย ประวัติประจำเดือนช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา บางเดือนไม่มา เดือนที่มาก็มีปริมาณน้อย มา1-3วัน อาการร่วม นอนหลับไม่สนิท รู้สึกตัวตลอดเวลา มือเท้าเย็น ดื่มแอลกอฮอล์ 5 วันต่อสัปดาห์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารได้ปกติ ขับถ่ายปกติ
- ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ปฏิเสธประวัติแพ้ยา ปฏิเสธประวัติแพ้อาหาร ปฏิเสธประวัติผ่าตัด
- การตรวจร่างกาย : ลิ้นแดงม่วงเข้ม ฝ้าขาวอมเหลืองเป็นแผ่นหนา ชีพจรพร่องและอ่อนแรง
- การวินิจฉัย : อาการวัยทอง กลุ่มอาการชี่และเลือดติดขัด และ กลุ่มสารอินพร่องทำให้เกิดความร้อนขึ้น (气滞血瘀证และ 阴虚火旺证)
การรักษา
จุดฝังเข็ม
จุดหลัก | 百会 关元 肾俞 太溪 三阴交 |
จุดเสริม | 大椎 气海 足三里 合谷 印堂 曲骨 中脘 |
ตำรับยา
ตำรับยาหลัก | 六味地黄丸 (ลิ่วเว่ยตี้หวงหวาน) |
ตัวยาเสริม | 知母 (จือหมู่),黄柏 (หวงป๋อ),地骨皮 (ตี้กู่ผี) |
คำแนะนำของแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยส่งเสริมการรักษา
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ลง เพราะว่าการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งเผาผลาญสารน้ำในร่างกาย ทำให้ร่างกายร้อนและแห้ง
- การประเมินผลกันรักษา ครั้งที่ 1 – 3
อาการร้อนวูบวาบดีขึ้น ตัวยังร้อนอยู่ ประมาณ 30 นาทีแล้วหายไป มีอาการทุกๆ 2 ชั่วโมง ยังมีเหงื่อออกทั้งตอนกลางวันและตอนนอน การนอนหลับดีขึ้น ยังมีตื่นกลางดึก มือเท้าไม่เย็นแล้ว ใจสั่นอยู่บ้างเล็กน้อย ยาจีนตำหรับ 六味地黄丸加减
- การประเมินผลกันรักษา ครั้งที่ 6-9
อาการร้อนวูบวาบดีขึ้นมาก มีอาการร้อนอยู่ประมาณ 5 นาทีแล้วหายไป มีอาการทุกๆ 4-5 ชั่วโมง นอนดีขึ้น ไม่ค่อยมีตื่นกลางดึกแล้ว เหงื่อออกน้อยลง
- การประเมินผลกันรักษา ครั้งที่ 13
ไม่มีอาการร้อนวูบวาบแล้ว นอนหลับดี ไม่มีตื่นกลางดึก มีเหงื่อออกเล็กน้อย อาการโดยรวมดีขึ้นดีไปโรงพยาบาลตรวจฮอร์โมนลดลงเหลือ FSH=17 (ก่อนมารักษาค่า FSH=76) และค่า Estrogen ปกติ มีไข่ตก
วิเคราะห์ผลการรักษา
เนื่องจากคนไข้มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ นอนไม่หลับ มีเหงื่อออกเยอะทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน ประกอบกับลิ้นแดงม่วงเข้มและชีพจรเต้นพร่องและอ่อนแรง พอรักษาไปสักระยะหนึ่งลิ้นคนไข้มีสีแดงและชีพจรเต้นเร็วและเล็ก
จากกลุ่มอาการข้างต้นวิเคราะห์คนไข้รายนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาการไตอินพร่องและเกิดความร้อนขึ้น
ใช้วิธีบำรุงไตอิน เพื่อให้ไตอินกลับมาสมดุลอีกครั้ง ระบายความร้อนแก้อาการร้อนวูบวาบ มีคำพูดในแพทย์จีนกล่าวว่าไตเป็นทุนแต่แรกเกิด (肾为先天之本) และม้ามเป็นทุนหลังกำเนิด (脾为后天之本) ดังนั่นจึงควรบำรุงม้ามและชี่ควบคู่ไปด้วย
สรุปผลการรักษา
จากเคสตัวอย่างข้างต้นเห็นได้ว่าจากการรักษาโดยการใช้ยาจีนควบคู่ไปกับการฝังเข็มปรับการไหลเวียนของเลือด สามารถช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ตามลำดับ จนอาการเกือบกลับมาเป็นปกติทั้งหมด นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงอวัยวะอื่นๆในร่างกายได้อีกด้วย อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับตัวผู้ป่วย ช่วยเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย และปรับสมดุลการทำงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนได้ปกติ
ผู้เขียนบทความ
พจ. ภาสินี เชิดชูเหล่า(หมอณัฏฐ์) ,พจ.วสมน โอภาสเพิ่มพงศ์(หมอฟร้องค์)