การรักษาอาการปวดประจำเดือนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน | เจ สหคลินิค
ฝังเข็มตามระบบเส้นลมปราณ ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การรมยา การครอบแก้ว หรือการทานยาจีน
เคสตัวอย่างผู้ป่วย
คุณ A อายุ 32 ปี รักษาทั้งหมด 9 ครั้ง
เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วเริ่มมีอาการปวดท้องประจำเดือน ปีนี้เริ่มปวดท้องหนักขึ้น และมีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน (ที่เราเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome)
อาการ
ครั้งแรกที่เริ่มเข้ารับการรักษามีอาการปวดท้องประจำเดือน มีอาการหงุดหงิดง่ายช่วงก่อนมีประจำเดือนและระหว่างมีประจำเดือน เวลาปวดท้องจะทานยา Ponstan รอประมาณ 3 ชั่วโมงอาการปวดจะบรรเทาลง ทานวันละ 2 เม็ด (บางครั้งทาน Arcoxia วันละ 2 เม็ดแทน) ประจำเดือนรอบล่าสุดที่มา รอบเดือนประมาณ 6-7 วัน ปริมาณน้อย สีแดง มีลิ่มเลือด มีปวดศีรษะ ร่วมกับอาการร้อนวูบวาบตามตัวช่วงก่อนมีประจำเดือนและระหว่างมีประจำเดือน 2-3 วันแรก ขี้ร้อนแต่มือเท้าเย็น การนอนหลับปกติดี ตื่นมาสดชื่น ทานอาหารปกติ ขับถ่ายทุกวันวันละครั้ง
-
舌淡,苔白有齿
-
左:脉弦有力 , 右:脉滑
-
诊断:寒凝血瘀(阴盛格阳)
แนะนำคนไข้ แช่เท้าด้วยน้ำอุ่น สวมถุงเท้าก่อนเข้านอนและหลังการรักษาให้ทานเนื้อสัตว์ และทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ขิง กระเพรา พริกไทย หลีกเลี่ยงการทานน้ำเย็นช่วงมีประจำเดือน
ครั้งที่ 4 ที่คนไข้มาฝังเข็ม ประจำเดือนเพิ่งจะหมดไป รอบเดือนนี้ปวดท้องประจำเดือนน้อยลง ปวดเกร็ง ประจำเดือนสีน้ำตาลออกคล้ำ มีปวดศีรษะ ยังมีร้อนวูบวาบอยู่ มือเท้าเย็นดีขึ้นแต่ยังเย็นอยู่
-
舌淡红,苔薄白
-
左:脉弦 , 右:脉弦
แนะนำคนไข้หลังการรักษาให้นำขิงผงผสมน้ำดื่ม ช่วยเรื่องให้ความอบอุ่นร่างกาย ทานน้ำอุณหภูมิห้อง งดทานน้ำเย็นของเย็นในช่วงที่มีประจำเดือนและก่อนประจำเดือนมา
ครั้งที่ 8 ที่คนไข้มาฝังเข็ม ประจำเดือนเพิ่งจะหมดไป รอบเดือนนี้ปวดท้องประจำเดือนแค่นิดเดียวปวดหน่วงๆแค่ 2 วันแรกที่ประจำเดือนมา ไม่ต้องทานยาแก้ปวด ประคบอุ่นบรรเทาอาการปวด ไม่มีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน มีอาการคัดตึงหน้าอกนิดหน่อย และมีอาการปวดศีรษะบางวันที่ทำงานหนัก อารมณ์ดี นอนปกติ ความอยากอาหารปกติ ขับถ่ายทุกวัน ไม่มีอ่อนเพลีย ไม่มีอาการร้อนวูบวาบ มือเท้าไม่เย็นแล้ว
-
舌淡红(暗),苔薄白
-
左:脉弦有力 , 右:脉弦有力
อาการของคนไข้แสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วพื้นฐานร่างกายของคนไข้เป็นเย็นแต่อาการที่แสดงออกไม่ว่าจะเป็นอาการร้อนวูบวาบ ขี้ร้อนต่างๆ เป็นภาวะร้อนปลอม เพราะว่าชีพจร สีของลิ้นล้วนเป็นภาวะเย็น เราจึงวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นภาวะ “ 阴盛格阳 ” (阴盛格阳 คือภาวะหรือกลุ่มอาการอินแรงขับหยางออกภายนอก หมายถึงพลังด้านอินภายในร่างกายมีกําลังแรงจัด จนขับหยางชี่ให้ออกไปอยู่ส่วนภายนอกของร่างกาย ทำให้เกิดสภาวะที่แท้จริงภายในร่างกายเย็น แต่แสดงออกภายนอกเป็นภาวะร้อนปลอม)
ในการรักษาจะเน้นอบอุ่นร่างกาย ปรับสมดุลของอวัยวะต่างๆ และเน้นการไหลเวียนเลือดของร่างกาย
ให้เลือดมีอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่เย็นเกินและไหลเวียนไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย เมื่อร่างกายอุ่นขึ้น อาการมือเท้าเย็นดีขึ้น เลือดที่บีบตัวออกจากหัวใจไปเลี้ยงบริเวณเท้า เมื่อเวียนกลับขึ้นมาเลี้ยงที่มดลูกก็จะเป็นเลือดที่อุ่นจะทำให้คนไข้ไม่ปวดท้องประจำเดือน โดยให้คนไข้ออกกำลังกายให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ทานขิงผงเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ร่วมด้วย
การรักษาอาการปวดประจำเดือนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
วิธีการดูแลตนเอง
- ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและช่วงเอวด้านหลัง
- แช่เท้าด้วยน้ำอุ่นและสวมถุงเท้าก่อนนอน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานผักและผลไม้ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน เกลือ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขนมหวาน หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง