การรักษาอาการหูมีเสียงด้วยการฝังเข็มตามแบบฉบับการแพทย์แผนจีน และแชร์เคสการรักษาอาการหูมีเสียง | J-CLINIC
สวัสดีค่ะ หมอฟร้องซ์จากเจสหคลินิกนะคะ วันนี้จะมาแชร์แนวทางการรักษาอาการหูมีเสียงตามแบบฉบับแพทย์แผนจีน และแชร์เคสการรักษาอาการหูมีเสียง พร้อมทั้งแนวทางการป้องกันและแนวทางในการดูแลตัวเองด้วยค่ะ
ตัวอย่างกรณีการรักษาผู้ป่วยหูมีเสียง
เพศ: ชาย อายุ: 33 ปี
ประวัติการเจ็บป่วย/โรคประจำตัว: ปฏิเสธ
อาการหลัก: หูข้างซ้ายมีเสียง มีอาการมาประมาณ 1 ปี
อาการปัจจุบัน
-
มีอาการหูข้างซ้ายมีเสียง มีอาการมาประมาณ 1 ปี, 2-3 เดือนที่ผ่านมาเป็นหนักขึ้น เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงเบาๆความถี่ต่ำ อาการหูมีเสียงจะเป็นหนักขึ้นเมื่อมีอาการตึงบริเวณคอบ่าร่วมด้วย
-
เคยไปตรวจที่โรงพยาบาล การได้ยินเสียงปกติ แพทย์แผนปัจจุบันจ่ายวิตามินบำรุงปลายประสาทมาให้ทาน แต่อาการหูมีเสียงยังเหมือนเดิม
-
อาการอื่นๆ ระบบย่อยอาหารไม่ดี รู้สึกอาหารไม่ย่อย เรอเป็นกลิ่นอาหาร และมีอาการแน่นท้อง
-
ความอยากอาหารลดลงในบางวันที่ถ่ายไม่ออก ทานน้ำเยอะ 3-5 ลิตรต่อวัน แต่ยังรู้สึกกระหายน้ำ เป็นร้อนในในปากง่าย (ช่วงไหนพักผ่อนน้อยจะเป็นร้อนในในปากบ่อย)
-
ท้องผูก (3-4วันถ่ายครั้งนึง)
-
การนอนหลับดี มีตื่นมาเข้าห้องน้ำบ้างและเข้านอนต่อได้ แต่เวลานอนไม่คงที่ (จากการทำงาน)
การวินิจฉัยตามแพทย์แผนจีน: ภาวะหูมีเสียง (耳鸣)กลุ่มอาการ: กลุ่มอาการม้ามและกระเพาะอาหารพร่องร่วมกับกลุ่มอาการชี่ไตพร่อง
การวินิจฉัยตามแพทย์แผนปัจจุบัน: ภาวะมีเสียงในหูที่เกิดจากประสาทหูเสื่อม
วิธีการรักษา : รักษาด้วยการฝังเข็มและกระตุ้นไฟฟ้า
จุดฝังเข็ม
จุดหลัก : จะเน้นคลายกล้ามเนื้อคอบ่าที่มีอาการตึงโดยจะเน้นมัดกล้ามเนื้อ SCM, Scalenus และ Levator scapulae และใช้จุดที่บริเวณหน้าหู-หลังหู เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทบริเวณหู จะเลือกใช้จุดเอ่อร์เหมิน (耳门), จุดทิงกง (听宫), จุดทิงฮุ่ย (听会), จุดอี้เฟิง (翳风), จุดจงจู่ (中渚), จุดป๋ายฮุ่ย (百会), จุดเฟิงฉือ (凤池)
จุดเสริม : บำรุงอวัยวะม้าม กระเพาะอาหารและไต เพิ่มพลังงานและการไหลเวียนเลือด จะเลือกใช้จุด ผีซู (脾俞), จุดเว่ยซู (胃俞), จุดเซิ่นซู (肾俞), จุดกานซู (肝俞), จุดเฮอกู่ (合谷), จุดไท่ซี (太溪), จุดหยงฉวน (涌泉), จุดจือโกว (支沟), จุดเทียนซู (天枢), จุดชี่ห่าย (气海), จุดกวนหยวน (关元), จุดจู๋ซานหลี่ (足三里)
ผลการรักษา
หลังจากการรักษาต่อเนื่องด้วยการฝังเข็มคลายกล้ามเนื้อคอและบ่า ร่วมกับการฝังเข็มปรับสมดุล หลังรักษาไป 2 ครั้งอาการหูมีเสียงลดลงจาก 100% เหลือประมาณ 20% มีบางวันที่อาการหายไปเลย และความถี่ในการได้ยินเสียงลดลง แต่มีบางช่วงที่อาการหูมีเสียงกลับมาเป็นมากขึ้นเนื่องจากกล้ามเนื้อคอและบ่าตึง อาการร่วมอื่นดีขึ้นตามลำดับ หลังรักษาไป 2 ครั้งไม่มีอาการแน่นท้องแล้ว มีแก๊สในกระเพาะอาหารบ้างบางวัน ความอยากอาหารปกติ ไม่มีอาการร้อนใน อาการท้องผูกดีขึ้นประมาณ 1-2 วันถ่ายครั้งนึง การนอนหลับดี
วิเคราะห์ผลการรักษา
การรักษาในทุกๆครั้งจะเน้นไปที่การฝังเข็มปรับสมดุลภายในร่างกาย การบำรุงอวัยวะไต ม้ามและกระเพาะอาหาร และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ในเคสผู้ป่วยรายนี้นอกจากฝังเข็มตามหลักการรักษาทางแพทย์แผนจีนแล้ว ยังมีการฝังเข็มเพื่อคลายกล้ามเนื้อคอและบ่าร่วมอีกด้วย เนื่องจากที่คนไข้กล่าวว่า “จะเป็นมากตอนช่วงที่ขับรถหรือก้มคออ่านหนังสือเป็นระยะเวลานานๆ” และลักษณะท่าทางของคนไข้ ซึ่งมีลักษณะคอยื่นไปและไหล่ห่องุ้มไปข้างหน้า จึงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหน้า (มัดกล้ามเนื้อ SCM, SCALENE และ LEVATOR SCAPULAE) มีความตึงตัวและหดตัวไปหนีบเส้นเลือดและเส้นประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณหู จึงทำให้เกิดอาการหูเสียงและนอกจากนี้คนไข้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ซึ่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องก็คือม้ามและกระเพาะอาหาร ในทางการแพทย์แผนจีนเมื่ออวัยวะม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง ก็จะทำให้ความสามารถในการย่อยอาหารน้อยลง เมื่อย่อยได้น้อยลงร่างกายก็จะได้รับสารอาหารน้อยลง และทำให้อวัยวะต่างๆรวมถึงทวารทั้ง 5 ได้รับสารอาหารมาหล่อเลี้ยงน้อยลงจึงทำให้เกิดอาการหูมีเสียง
จากเคสกรณีตัวอย่างเราเลือกการรักษาอาการหูมีเสียงด้วยการฝังเข็ม อาการของคนไข้ดีขึ้นตามลำดับ มีช่วงที่อาการสงบและอาการกลับมากำเริบ เคสนี้คนไข้บอกว่าหลังจากที่ขับรถและมีการก้มคออ่านหนังสือเป็นระยะเวลานานทำให้มีอาการตึงบริเวณคอและบ่า และอาการหูมีเสียงกลับมากำเริบ จึงสรุปแนวทางการรักษาสำหรับเคสนี้ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่าตึงตัวทำให้อาการหูมีเสียงกำเริบ และอีกส่วนคือการทำงานของอวัยวะม้ามและกระเพาะอาหารพร่องลงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เราจึงเน้นที่การคลายกล้ามเนื้อ การปรับท่าทางการใช้ชีวิตประจำวัน การกระตุ้นปลายประสาทบริเวณหู การปรับสมดุลร่างกายองค์รวม และการทานอาหารที่มีฤทธิ์บำรุงอวัยวะม้ามและกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่มักจะเป็นผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ลูกเดือย ฟักทอง เลม่อน ข้าวโพด แครอท และอาหารที่มีฤทธิ์บำรุงอวัยวะไต ส่วนใหญ่มักจะเป็นผักและผลไม้ที่มีสีม่วงหรือสีดำ เช่น ถั่วดำ องุ่นดำ เห็ดหูหนู งาดำ ลูกพรุน
การป้องกันไม่ให้เกิดเสียงในหู
-
- หลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น เสียงประทัด หรือเสียงปืน เสียงในสถานบันเทิงต่างๆ หากต้องทำงานในที่ที่มีเสียงดังมาก ควรใส่ที่ป้องกันเสียง
- หลีกเลี่ยงสารพิษ มีสารพิษหลายชนิดที่จะทำให้ประสาทหูเสื่อม และมีเสียงดังในหู เช่น ยาฉีดฆ่าเชื้อสเตร็ปโตไมซิน อมิโนกลัยโคไซด์
- ป้องกันหูและศีรษะจากการบาดเจ็บ เช่น ถูกตบที่หู ไม่ควรแคะหรือปั่นหู
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจิตใจแจ่มใส ลดความเครียดและวิตกกังวล อย่าอยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวนานๆ
Other our blogs
- การรักษาอาการมือเท้าเย็นง่ายๆแบบฉบับแพทย์แผนจีน และแชร์เคสการรักษาอาการมือ-เท้าเย็น
- บทความเต้านมอักเสบอุดตัน หลังหยุดให้นมลูก
- ตัวอย่างกรณีการรักษาในผู้ป่วยวัยทอง
- รักษาอาการปวดบริเวณหลัง โดยเน้นครอบแก้วเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการทำกายภาพ
- การรักษาอาการปวดประจำเดือนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
- การรักษาอาการปวดประจำเดือนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
สามารถทำการนัดหมายได้โดยการส่งไลน์หรือโทรไปที่คลินิกสาขาที่สะดวก โดยจะมีพนักงานชาวไทยจะเป็นผู้ดำเนินการรับเรื่องค่ะ
-
สาขาพร้อมพงษ์:097-257-3577
-
สาขาทองหล่อ:084-424-1299
-
สาขาเอกมัย:097-245-7863