สวัสดีค่ะ หมอพลอยจากเจสหคลินิกนะคะ จะมาแชร์แนวทางการรักษาอาการมือ-เย็นง่ายๆแบบฉบับแพทย์แผนจีน และแชร์เคสการรักษาอาการมือ-เท้าเย็น
เบื้องต้นสามารถดูแลสุภาพและป้องกันการเกิดอาการมือ-เท้าเย็นได้ด้วยวิธีง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง คือ
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเย็นได้ง่าย เช่น ตากลม ตากแอร์เป็นเวลานาน งดทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น(น้ำเย็น น้ำแข็ง ไอติม) เป็นต้น
ทางการแพทย์แผนจีนอาการมีมือ-เท้าเย็นมีลักษณะกลุ่มอาการที่แตกต่างกัน แน่นนอนว่าการรักษาย่อมแตกต่างกัน หากมีอาการมากจนไม่สามารถหายได้เอง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ
ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยในทางการแพทย์แผนจีนจะเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับคนไข้ การรักษาด้วยการ ฝังเข็ม รมยา ครอบแก้ว และยาจีน ทั้งนี้ทั้งนั้นในการรักษาขึ้นอยู่กันความเหมาะสมและอาการ โดยแพทย์จีนจะวินิจฉัยประเมินอาการคนไข้และเลือกรักษาวิธีตามความเหมาะสมกับกลุ่มอาการของแต่ละบุคคล
ชื่อ: คุณ S
เพศ: หญิง อายุ: 33
ประวัติการเจ็บป่วย/โรคประจำตัว: ปฏิเสธ
จุดฝังเข็ม
ผลการรักษา: หลังจากรักษาด้วยการฝังเข็มและรมยา อาการคนไข้เริ่มดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่มารักษา อาการมือ-เท้าเย็นค่อยๆลดลง แต่ยังเห็นผลไม่ชัดเจนในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก หลังจากมารักษาต่อเนื่องจนครบ 1 เดือนอาการมือ-เท้าเย็นลดลงมาก คนไข้รู้สึกได้ชัด
และอาการปวดท้องประจำเดือนก็พบว่าดีขึ้นมากไม่ต้องรับประทานยาลดปวดอาการสามารถทุเลาลงได้ ในช่วงแรกทำการรักษา 1 ครั้ง / สัปดาห์ หลังรักษาอาการดีขึ้นปรับการรักษาเป็นเดือนละ 1-2 ครั้ง เน้นการปรับสมดุลร่างกายและเพิ่มการไหลเวียนพลังชี่และเลือด
ในเคสนี้เนื่องจากคนไข้มีอาการมานาน จึงต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา และคนไข้มารักษาต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน อาการมือ-เท้าเย็นค่อยๆดีขึ้น จนปัจจุบันแทบไม่มีอาการมือ-เท้าแล้ว
นอกจากนี้มีการแนะนำให้คนไข้แช่เท้าด้วยน้ำอุ่นก่อนนอนเพื่อเพิ่มพลังหยาง เพิ่มการไหลเวียนพลังชี่และเลือด แนะนำทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายด้วยการทานน้ำขิง ซุปไก่ตุ้นยาจีน และก่อนนอนให้สวมถุงเท้าเพื่อเพิ่มความอบอุ่น ไม่ให้มือ-เท้าสัมผัสอากาศเย็นโดยตรง